ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
ในปีพ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา โดยมิชชันนารีฝรั่งเศสที่ได้เข้ามาสอนศาสนาในสมัยนั้น มีสังฆราชองค์หนึ่งชื่อ ลาโน(Mgr Laneau) ได้ริเริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น นับว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ของสังฆราชลาโนถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก (อำไพ จันทร์จิระ. 2512 : 73 – 74) และต่อมาภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยามกิจการพิมพ์ในสมัยอยุธยาจึงหยุดชะงักและไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่
ในสมัยพระเจ้าตากสิน เมื่อบ้านเมืองปกติแล้ว บาทหลวงคาทอลิกชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนา จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปีค.ศ.1796 (พ.ศ.2339) ซึ่งคาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และสันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์คงใช้วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะ
พ.ศ.2536 (ค.ศ.1813) ได้มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีอเมริกัน และเข้ามาดำเนินกิจการทางศาสนาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลยชาวไทยในพม่าและได้ดำเนินการหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำไปยังเมืองกัลกัตตา และมีผู้ซื้อต่อโดยนำมาไว้ที่สิงคโปร์ นักบวชอเมริกันได้ซื้อตัวพิมพ์ และแท่นพิมพ์ดังกล่าวแล้วนำเข้าสู่เมืองไทยอีกทีหนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commisioner for Foreign Missions (กำธร สถิรกุล. 2515 : 198)
พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain James Low) รับราชการอยู่กับรัฐบาลอินเดีย มาทำงานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ไทยขึ้น และได้จัดพิมพ์หนังสือไวยากรณ์ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า “A Grammar of the Thai” พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมีเหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุด
วัชรสูตร หรือ Diamaond Surta เป็นหนังสือเล่มแรกของโลกที่ได้รับการตีพิมพ์ ขึ้นในวันที่ 11 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 868 เพื่อแจกจ่ายให้แก่คนทั่วไป โดยพุทธศาสนิกชนชาวจีน ชื่อ เฉีย ( Wang Chieh ) สิ่งพิมพ์นี้มีขนาดกว้าง ยาว หน้าละ 12 x 30 นิ้ว ประกอบด้วยภาพและตัวอักษรว่าด้วยความเป็นอนัตตา ของสรรพสิ่งตามธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ ได้รับการตีพิมพ์โดย บล็อกไม้แกะ ถูกเก็บรวมไว้กับเอกสารอื่นกว่าพันชิ้นในถ้ำใกล้เมืองตุนหวง เป็นเวาช้านาน กว่าที่นักพรตนิกายเต๋าท่านหนึ่งเข้าไปพบในปี ค.ศ.1900