รายละเอียดเพิ่มเติม
e-Billing คืออะไร?
“เข้าสู่ยุคดิจิทัลอะไรๆก็ดูทันสมัยไปซ่ะหมดแถบจะทุกอย่างก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ความสะดวกในเรื่องของเครื่องมือการทำธุรกิจ เป็นต้น”
e-billing ย่อมาจาก electronic billing หมายถึง ระบบการออกใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนที่ใบแจ้งหนี้แบบกระดาษ โดยผู้ขายจะออกใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งให้ผู้ซื้อทางอีเมล หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ แทนการส่งใบแจ้งหนี้แบบกระดาษทางไปรษณีย์หรือส่งมอบด้วยมือ เป็นต้น
ประโยชน์ของ e-billing มีอะไรบ้าง?
ผู้ขายสามารถออกใบแจ้งหนี้และส่งให้ลูกค้าทางออนไลน์ได้ง่ายดาย ลูกค้าก็สามารถดูและชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ได้เช่นกัน สร้างความสะดวกในการทำงานได้อย่างมากและยังช่วยควบคุมงบประมาณในการใช้จ่ายภายในองค์กรได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น อาทิ เช่น
- ช่วยให้กระบวนการออกใบแจ้งหนี้และชำระเงินรวดเร็วขึ้นประหยัดเวลาในการส่งและรับใบแจ้งหนี้
- ช่วยลดต้นทุนค่ากระดาษ หมึกพิมพ์ และค่าจัดส่ง
- ช่วยลดการใช้กระดาษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันข้อมูลสูญหายหรือถูกปลอมแปลง เพื่อลดความเสี่ยงจากการสูญหาย ฉีกขาด หรือปลอมแปลงใบแจ้งหนี้ เป็นต้น
- ติดตามตรวจสอบง่ายสามารถค้นหาและตรวจสอบใบแจ้งหนี้ย้อนหลังได้สะดวก
- เชื่อมต่อกับระบบบัญชีออนไลน์ได้ง่าย
e-billing มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแล้ว e-billing จะมีรูปแบบดังนี้
- ไฟล์ PDF ที่สามารถดาวน์โหลดและพิมพ์ออกมาเก็บไว้ได้
- อีเมล ที่มีใบแจ้งหนี้แนบมา
- เว็บไซต์ ที่สามารถเข้าดูและดาวน์โหลดใบแจ้งหนี้ได้
e-billing: มีประเภทอะไรบ้าง?
- e-Invoice: ใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
- ใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป: เป็นใบแจ้งหนี้ที่ออกโดยผู้ขายให้กับลูกค้า สามารถออกได้ทั้งในรูปแบบ e-Tax Invoice และรูปแบบอื่นๆ
- e-Tax invoice: ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์
- ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) : เป็นใบแจ้งหนี้ที่ออกตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องออก e-Tax Invoice ให้กับลูกค้าทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือใช้บริการ เป็นต้น
- e-Receipt: ใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
- ระบบการรับวางบิลออนไลน์: เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถออกใบแจ้งหนี้และรับชำระเงินจากลูกค้าผ่านระบบออนไลน์
วิธีการดำเนินการ
วิธีการใช้งาน e-Billing นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย
กรณีเป็นผู้ซื้อ:
ลงทะเบียนใช้งาน: ผู้ซื้อต้องลงทะเบียนใช้งาน e-Billing กับผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร โดยสามารถค้นหารายชื่อผู้ให้บริการได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/
รับใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์: เมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่ออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ซื้อจะได้รับใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ PDF หรือ QR Code
ตรวจสอบและเก็บรักษา: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ และเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีเป็นผู้ขาย:
ลงทะเบียนใช้งาน: ผู้ขายต้องลงทะเบียนใช้งาน e-Billing กับผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร โดยสามารถค้นหารายชื่อผู้ให้บริการได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/ หรือ ผ่านผู้ให้บริการออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ช่องทางอื่นๆ เป็นต้น
ออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์: เมื่อทำการขายสินค้าหรือบริการ ผู้ขายต้องออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ PDF หรือ QR Code และส่งให้ผู้ซื้อ
ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร: ผู้ขายต้องส่งข้อมูลใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากรผ่านระบบ e-Billing ของผู้ให้บริการ
“e-billing เป็นเรื่องที่หลายคนในแวดวงธุรกิจให้ความสนใจ และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นเสมือนอุปกรณ์การทำงานในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น และ e-billing ยังช่วยทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือนับเป็นภาพลักษณ์ที่ดีเลยทีเดียวสำหรับองค์กร และสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และลดต้นทุน เป็นต้น”
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โทรติดต่อได้เลยค่ะ 063-391-5364